ไก่แจ้ เป็นไก่พื้นเมือง สืบทอดสายพันธ์มาจากไก่ป่าเช่นเดียวกับไก่ประเภทอื่นๆ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในเมืองไทยก็พบไก่แจ้มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
ไก่แจ้ เป็นไก่พื้นเมือง
สืบทอดสายพันธ์มาจากไก่ป่าเช่นเดียวกับไก่ประเภทอื่นๆ
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งจะเห็นได้ว่าในเมืองไทยก็พบไก่แจ้มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
ถือว่าเป็นไก่พื้นเมืองของประเทศไทยสายพันธุ์หนึ่ง ในแถบยุโรปและอเมริกาจะเรียกไก่แจ้ว่า
“แจแปนนีสแบนตั้ม เพื่อเป็นการให้เกียรติกับชาวญี่ปุ่น
ซึ่งเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ไก่แจ้ขึ้นมาทั้งๆที่ไก่แจ้แท้จริงแล้วไม่ใช่ไก่พื้นเมืองของญี่ปุ่น
มีหลักฐานกล่าวว่าแรกเริ่มชาวญี่ปุ่นได้นำไก่แจ้มาจากจีนตอนใต้เมื่อพ.ศ.2149 – 2179
จากนั้นได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนได้รูปทรงและสีสันที่สวยงาม
ในเวลาต่อมาญี่ปุ่นได้นำไก่แจ้ จากแถบคาบสมุทรอินโดจีนไปผสมเพิ่มเติมอีก
ซึ่งใช้เวลาในการคัดพันธุ์นับร้อยปี
จนกระทั่งประมาณห้าสิบปีเศษมานี้เองไก่แจ้ญี่ปุ่นก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
ในแถบยุโรปที่มีการนิยมเลี้ยงไก่แจ้ก็เพราะว่า
เมื่อสมัยโบราณชนชาติจีนมีการติดต่อซื้อขายกับชาวอังกฤษ
ซึ่งชาวจีนได้นำไก่แจ้ติดเรือสำเภาไปด้วย เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงแก้เหงาในเรือ
เมื่อพ่อค้าชาวอังกฤษเห็นเข้า ก็เกิดความสนใจและได้นำไปเลี้ยงยังประเทศอังกฤษ
ในตอนแรกก็มีการเลี้ยงกันเฉพาะพ่อค้าและชาวบ้าน
ต่อมาพระนางวิคตอเรียเห็นเข้าและพอพระทัยจึงมีการนำเข้าไปเลี้ยงในพระราชวังเป็นครั้งแรก
สำหรับในเมืองไทยมีการเลี้ยงไก่แจ้มาตั้งแต่อดีตกาลแล้ว
แต่ไม่ได้สนใจในการปรับปรุง หรือคัดสายพันธุ์เลย จนกระทั่งเมื่อประมาณ20-30ปีที่ผ่านมามีผู้ให้ความสนใจอย่างจริงจัง
ในการพัฒนาเพื่อให้ไก่แจ้ไทยมีลักษณะดีและสวยงามตามแบบมาตรฐานสากล
จึงได้มีการสั่งซื้อไก่แจ้
สายพันธุ์ที่ดีจากญี่ปุ่นเข้ามาผสมกับสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย
จากการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันไก่แจ้ไทยกลายเป็นที่รู้จักของชาว
ลักษณะมาตรฐาน เพศผู้
หัว มีขนาดใหญ่และกว้างหรือกลมสมส่วนกับใบหน้า
หงอน ใหญ่
หนามีสีแดง ตั้งตรง เหมาะสมกับลำตัว ผิวหงอนจะมีลักษณะหยาบเป็นเม็ดเล็ก ๆ
คล้ายกันกับกระดาษทรายหยาบ หน้าหงอนยื่นจรดจงอยปาก
ท้ายหงอนโค้งกดตามรูปหัวจักหงอนมี 4-5 จัก นับจากจักที่ติดกับจงอยปาก ท้ายหงอนไม่นับ
จักหงอนมีความใหญ่และลึกพอสมควร สวยงามเรียงกันเป็นระเบียบ
เหนียง ใหญ่ สมดุลกับหงอน ปลายกลม ห้อยทาบไปตามลำคอสวยงาม ผิวเหนียงหยาบ
ปาก สั้นและโค้งเล็กน้อย มั่นคงและแข็งแรง
ตา กลมโตมีประกาย
ติ่งหู ขนาดปานกลาง กลมรีเป็นรูปไข่มีสีแดงเช่นเดียวกันกับหงอน ยกเว้นบางสีมีติ่งหูสีขาว
คอและขนของคอ คอสั้น โค้งเล็กน้อยมีขนสร้อยคอหนาแน่น สวยงาม ปลายขนแหลม
ลำตัว เล็ก กลม สั้น กว้างและลึก
อก ใหญ่ กลมเต็มและยื่นไปข้างหน้า
ท้อง ช่วงท้องสั้น กลม เต็ม มีขนดก หนานุ่ม
หลัง กว้างและสั้นมาก จนแทบไม่มีช่องว่างระหว่างพุ่มสร้อยคอและโคนหาง สะโพกมีระย้าหนาแน่น
ปีก หนาแล้วยาว ทอดขนานกับลำตัว ปลายปีกสัมผัสพื้นตรงส่วนปลายของลำตัว
หาง หางชัย 2 เส้นยาวคล้ายดาบ ชี้ขึ้นตรงสูงกว่าหัวประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวทั้งหมด ขณะยืนหางจะแตะสัมผัสกับท้ายหงอน หางพัดลักษณะปลายมน เรียงเป็นระเบียบไม่ต่ำกว่า 6 เส้น แผ่หรือบานประมาณ 90-150 องศา ระย้าแซมหางพัด ขนคลุมหรือเครื่องคลุม ปลายขนแหลมคล้ายใบข้าวมี 2-3 ชั้นระหว่างหางพัดทั้ง 2 ข้าง มีขนบัวหงายหรือขนอุยปิดก้นคลุมเป็นระเบียบ
แข้ง สั้น กลมใหญ่และแข็งแรง หน้าแข้งสั้นประมาณ 1 องคุลี (ประมาณ 2 ซม.) นับจากสุดปลายขนด้านหน้า ถึงข้อนิ้วแรก เกล็ดแข้งเรียบ เรียงเป็นระเบียบไม่มีขน
นิ้วเท้า ขาแต่ละข้างมีนิ้วทั้ง 4 นิ้ว นิ้วตรงสั้น กางได้รูป ข้อนิ้วเรียงเป็นระเบียบแข็งแรงมีเล็บสมบูรณ์
ขน สะอาด นุ่ม หนาแน่น เป็นเงาสดใส
น้ำหนักตัว น้ำหนักประมาณ 730 กรัม ถ้ามีน้ำหนักตัวสูงกว่ามาตรฐานเกิน 120 กรัม จะถือว่าไม่ได้มาตรฐาน
เหนียง ใหญ่ สมดุลกับหงอน ปลายกลม ห้อยทาบไปตามลำคอสวยงาม ผิวเหนียงหยาบ
ปาก สั้นและโค้งเล็กน้อย มั่นคงและแข็งแรง
ตา กลมโตมีประกาย
ติ่งหู ขนาดปานกลาง กลมรีเป็นรูปไข่มีสีแดงเช่นเดียวกันกับหงอน ยกเว้นบางสีมีติ่งหูสีขาว
คอและขนของคอ คอสั้น โค้งเล็กน้อยมีขนสร้อยคอหนาแน่น สวยงาม ปลายขนแหลม
ลำตัว เล็ก กลม สั้น กว้างและลึก
อก ใหญ่ กลมเต็มและยื่นไปข้างหน้า
ท้อง ช่วงท้องสั้น กลม เต็ม มีขนดก หนานุ่ม
หลัง กว้างและสั้นมาก จนแทบไม่มีช่องว่างระหว่างพุ่มสร้อยคอและโคนหาง สะโพกมีระย้าหนาแน่น
ปีก หนาแล้วยาว ทอดขนานกับลำตัว ปลายปีกสัมผัสพื้นตรงส่วนปลายของลำตัว
หาง หางชัย 2 เส้นยาวคล้ายดาบ ชี้ขึ้นตรงสูงกว่าหัวประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวทั้งหมด ขณะยืนหางจะแตะสัมผัสกับท้ายหงอน หางพัดลักษณะปลายมน เรียงเป็นระเบียบไม่ต่ำกว่า 6 เส้น แผ่หรือบานประมาณ 90-150 องศา ระย้าแซมหางพัด ขนคลุมหรือเครื่องคลุม ปลายขนแหลมคล้ายใบข้าวมี 2-3 ชั้นระหว่างหางพัดทั้ง 2 ข้าง มีขนบัวหงายหรือขนอุยปิดก้นคลุมเป็นระเบียบ
แข้ง สั้น กลมใหญ่และแข็งแรง หน้าแข้งสั้นประมาณ 1 องคุลี (ประมาณ 2 ซม.) นับจากสุดปลายขนด้านหน้า ถึงข้อนิ้วแรก เกล็ดแข้งเรียบ เรียงเป็นระเบียบไม่มีขน
นิ้วเท้า ขาแต่ละข้างมีนิ้วทั้ง 4 นิ้ว นิ้วตรงสั้น กางได้รูป ข้อนิ้วเรียงเป็นระเบียบแข็งแรงมีเล็บสมบูรณ์
ขน สะอาด นุ่ม หนาแน่น เป็นเงาสดใส
น้ำหนักตัว น้ำหนักประมาณ 730 กรัม ถ้ามีน้ำหนักตัวสูงกว่ามาตรฐานเกิน 120 กรัม จะถือว่าไม่ได้มาตรฐาน
ลักษณะมาตรฐานของ
เพศเมีย
ลักษณะของไก่แจ้เพศเมียโดยทั่วไปมีลักษณะเช่นเดียวกับไก่แจ้เพศผู้ แต่มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยคือ
หงอน ใหญ่ มีจัก 4 จัก เรียงเป็นระเบียบ ตั้งตรง หรือเอียงล้มไปข้างใดข้างหนึ่งก็ได้
หาง ยาว หางพัดใบใหญ่ ปลายมน ซ้อนกันเป็นระเบียบ ตั้งตรง ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง แผ่กว้างสวยงาม มองทางด้านข้างจะเอนทำมุมมาที่ด้านหน้าเล็กน้อย ไม่มากจนดูเหมือนหางอัด
หัว ขนาดปานกลาง กลมโดยทั่วไปเล็กกว่าตัวผู้
น้ำหนักตัว น้ำหนักประมาณ 610 กรัม ถ้าน้ำหนักตัวสูงกว่ามาตรฐานเกิน 120 กรัม ถือว่าไม่ได้มาตรฐาน
ลักษณะของไก่แจ้เพศเมียโดยทั่วไปมีลักษณะเช่นเดียวกับไก่แจ้เพศผู้ แต่มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยคือ
หงอน ใหญ่ มีจัก 4 จัก เรียงเป็นระเบียบ ตั้งตรง หรือเอียงล้มไปข้างใดข้างหนึ่งก็ได้
หาง ยาว หางพัดใบใหญ่ ปลายมน ซ้อนกันเป็นระเบียบ ตั้งตรง ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง แผ่กว้างสวยงาม มองทางด้านข้างจะเอนทำมุมมาที่ด้านหน้าเล็กน้อย ไม่มากจนดูเหมือนหางอัด
หัว ขนาดปานกลาง กลมโดยทั่วไปเล็กกว่าตัวผู้
น้ำหนักตัว น้ำหนักประมาณ 610 กรัม ถ้าน้ำหนักตัวสูงกว่ามาตรฐานเกิน 120 กรัม ถือว่าไม่ได้มาตรฐาน
สีไก่แจ้ (สากล)
1. สีขาว ตัวผู้หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายหรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด
ตาสีแดงหรือส้มปนแดง จงอยปากเป็นสีเหลือง
ขนและโคนขนทั้งตัวต้องมีสีขาวบริสุทธิ์เหมือนปุยหิมะ ไม่มีสีอื่นปะปน
น้ำขนแวววาว – นิ้ว สีเหลืองและเล็กเป็นสีขาว
2. สีดำ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงจัดหรือมีปานดำ ใบหงอนมีเม็ดทรายหรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีดำ หรือสีสนิมเหล็ก มีขอบตา จงอยปากสีดำ ขนทั้งตัวเป็นสีดำสนิท ต้องไม่มีสีอื่นแซมปะปน น้ำขนมีสีเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับเป็นเงามัน นิ้ว เล็บ แข้งเป็นสีดำ หรือสีหินชนวน
3. สีทอง ตัวผุ้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด หงอนเป็นเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีเหลืองหรือส้ม จงอยปากสีเหลือง ขนสีทองสดใสขนปีกชั้นแรกและชั้นที่สอง แซมดำ แต่เมื่อหุบแล้วจะเป็นสีทองเกือบทั้งปีก ขนหางและหางข้างสีดำขอบทอง แข้งนิ้วสีเหลือง เล็บสีขาว
4. สีลายดอกหมาก ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอน มีเม็ดทราย ตาสีแดงหรือส้มปนแดง จงอยปากสีเหลืองลำตัวสีดำ สีขนหัวและสร้อยคอและขนระย้าสีดำ ขลิบด้วยสีขาวปนสีเงินสว่างชัดเจน ขนที่อกสีดำขอบเงินเป็นลายข้าวหลามตัดคมชัด หางสีดำ ปีกสีดำ แข้ง- นิ้ว สีเหลืองเล็บสีขาว
5. สีกระดำ หรือสีลายข้าวตอก ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีแดงหรือส้มปนแดง จงอยปากสีขาว หรือเหลืองเส้นขนทั้งตัวทุกเส้นเป็นสีดำ แต่ปลายขนมีจุดสีขาว ประมาณ 9-12 มิลลิเมตร ขนหางและขนปีก อนุโลมให้มีสีขาวได้มากกว่ากำหนดเล็กน้อย แข้ง นิ้วเล็บ เป็นสีขาวหรือเหลือง
6. สีกระทอง ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีเหลือง หรือส้ม จงอยปากสีเหลือง และข้อกำหนดอื่น ๆ เช่นเดียวกับลายสีกระดำต่างกันที่สีพื้นเป็นสีทองเท่านั้น แข้ง นิ้ว เป็นสีเหลือง ส่วนเล็บเป็นสีขาว
7. ลายสีบาร์ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีแดงหรือส้มปนแดง จงอยปากสีเหลืองหรืออมดำสีขนเป็นสีลายระหว่างสีเทาเงินกับสีเทาเข้มทั้งตัว และไม่มีสีอื่น ๆปะปน แข้งนิ้วเป็นสีเหลืองและเล็บเป็นสีขาว
8. สีเทาหรือเทาดำ เทาพิราบ ตัวผู้หน้าหงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีแดงจัดและส้มปนแดง สีน้ำตาลเข้ม จงอยปากเป็นสีดำหินชนวน หรือเทาเข้มขนทั่วตัวเป็นสีเทา สร้อยคอเป็นสีเทาแต่สีจะเข้มกว่าสีตามตัวเล็กน้อย แข้ง นิ้ว เล็บเป็นสีเทา หรือเทาอมดำ
9. สีขาวหางดำ ตัวผู้หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีแดง หรือส้มปนแดง จงอยปากสีเหลือง ขนสีขาวบริสุทธิ์ทั้งตัว ขนปีกชั้นแรกและชั้นที่สอง แซมดำแต่เมื่อหุบปีกแล้วจะดูเป็นสีขาวเกือบทั้งปีก หางพัดมีสีดำ แต่ขลิบขอบด้วยสีขาวคมชัด แข้ง นิ้ว สีเหลืองเล็บสีขาว
10. สีลายสามสี ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนเม็ดทรายสีแดงสด จงอนปากสีขาวอมเหลือง ขนบริเวณหัว คอ ไหล่ ปีก ขนปีกด้านนอก ระย้า อก และท้อง มีสีน้ำตาล และมีเส้นสีดำ ส่วนที่่ปลายขนมีจุดสีขาว โดยขนแต่ละใบจากปลายขนจะมีสีขาวร้อยละ 30 ของพื้นที่ ถัดลงมาเป็นสีดำร้อยละ 10 ของพื้นที่ ถัดลงมาอีกจะเป็นสีน้ำตาลเข้มร้อยละ 50 ของพื้นที่ และส่วนที่ติดกับก้านขน หรือขนอุยเป็นสีเทาร้อยละ 10 ของพื้นที่ ขนปีก หลักและหางพัด ปรากฎเป็นลักษณะของจุดกระจายเป็นสามสี คือ สีดำ น้ำตาล และขาว ขนหาง ขนหางข้างหางพัด และหางพัดด้านนอกมีสีของโคนขนเป็นสีดำแกมเขียว และบริเวณปลายจะมีจุดสีขาวผสมสีน้ำตาล หางพัดด้านนอกของเพศเมียเหมือนกับระย้า โคนขนมีสีเทา แข้ง นิ้ว เล็บ สีขาวอมเหลือง
11. สีโกโก้ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนเป็นเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีส้มปนแดง จงอยปากสีโกโก้ ขนทั้งตัวเป็นสีโกโก้ ไม่เข้มหรืออ่อนจนเกินไปและสม่ำเสมอไม่มีสีอื่น ๆ แซมสร้อยคอ และระย้าออกสีโกโก้ หรือสีช็อกโกแลตเข้มกว่าสีตามตัว แข้งนิ้ว และเล็บ เป็นสีโกโก้ (เดิมเป็นไก่พื้นเมืองของจังหวัดเพชรบุรี)
12. สีโกโก้บาร์ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย เป็นสีแดงสด ตาสีแดงหรือส้มปนแดง จงอยปากสีครีม หรือสีโกโก้ขนทั้งตัวเป็นสีโกโก้ ปลายขนจะเป็นสีโกโก้เข้ม โดยสลับกับสีโกโก้อ่อนเป็นช่วง ๆ และไม่มีสีอื่นปน แข้ง นิ้ว เล็บเป็นสีโกโก้
13. สีกระโกโก้ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีแดง หรือส้มปนแดง จงอยปากสีครีมหรือสีโกโก้ สีขนเหมือนสีกระดำ แต่เปลี่ยนจากสีดำเป็นสีโกโก้ แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีครีม หรือสีโกโก้
14. สีเทาเปรอะ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนเป็นเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีแดง หรือน้ำตาลเข้มมีขอบตา จงอยปากสีเทาหรือเทาดำ ขนทั้งตัวตั้งแต่สร้อยคอจนถึงหางจะมีสีเทานกพิราบ เทาเข้มเทาอ่อนขึ้นสลับกันอยู่ทั้งตัว ไม่มีสีอื่นปน ขนตามลำตัวตั้งแต่สร้อยคอจนถึงหางจะต้องไม่มี สีเหลือง หรือสีเทาขึ้นแซม แข้ง นิ้ว เล็บ สีเทาคล้ายหินชนวน หรือเขียวอมดำหรือสีเหลือง
2. สีดำ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงจัดหรือมีปานดำ ใบหงอนมีเม็ดทรายหรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีดำ หรือสีสนิมเหล็ก มีขอบตา จงอยปากสีดำ ขนทั้งตัวเป็นสีดำสนิท ต้องไม่มีสีอื่นแซมปะปน น้ำขนมีสีเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับเป็นเงามัน นิ้ว เล็บ แข้งเป็นสีดำ หรือสีหินชนวน
3. สีทอง ตัวผุ้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด หงอนเป็นเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีเหลืองหรือส้ม จงอยปากสีเหลือง ขนสีทองสดใสขนปีกชั้นแรกและชั้นที่สอง แซมดำ แต่เมื่อหุบแล้วจะเป็นสีทองเกือบทั้งปีก ขนหางและหางข้างสีดำขอบทอง แข้งนิ้วสีเหลือง เล็บสีขาว
4. สีลายดอกหมาก ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอน มีเม็ดทราย ตาสีแดงหรือส้มปนแดง จงอยปากสีเหลืองลำตัวสีดำ สีขนหัวและสร้อยคอและขนระย้าสีดำ ขลิบด้วยสีขาวปนสีเงินสว่างชัดเจน ขนที่อกสีดำขอบเงินเป็นลายข้าวหลามตัดคมชัด หางสีดำ ปีกสีดำ แข้ง- นิ้ว สีเหลืองเล็บสีขาว
5. สีกระดำ หรือสีลายข้าวตอก ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีแดงหรือส้มปนแดง จงอยปากสีขาว หรือเหลืองเส้นขนทั้งตัวทุกเส้นเป็นสีดำ แต่ปลายขนมีจุดสีขาว ประมาณ 9-12 มิลลิเมตร ขนหางและขนปีก อนุโลมให้มีสีขาวได้มากกว่ากำหนดเล็กน้อย แข้ง นิ้วเล็บ เป็นสีขาวหรือเหลือง
6. สีกระทอง ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีเหลือง หรือส้ม จงอยปากสีเหลือง และข้อกำหนดอื่น ๆ เช่นเดียวกับลายสีกระดำต่างกันที่สีพื้นเป็นสีทองเท่านั้น แข้ง นิ้ว เป็นสีเหลือง ส่วนเล็บเป็นสีขาว
7. ลายสีบาร์ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีแดงหรือส้มปนแดง จงอยปากสีเหลืองหรืออมดำสีขนเป็นสีลายระหว่างสีเทาเงินกับสีเทาเข้มทั้งตัว และไม่มีสีอื่น ๆปะปน แข้งนิ้วเป็นสีเหลืองและเล็บเป็นสีขาว
8. สีเทาหรือเทาดำ เทาพิราบ ตัวผู้หน้าหงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีแดงจัดและส้มปนแดง สีน้ำตาลเข้ม จงอยปากเป็นสีดำหินชนวน หรือเทาเข้มขนทั่วตัวเป็นสีเทา สร้อยคอเป็นสีเทาแต่สีจะเข้มกว่าสีตามตัวเล็กน้อย แข้ง นิ้ว เล็บเป็นสีเทา หรือเทาอมดำ
9. สีขาวหางดำ ตัวผู้หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีแดง หรือส้มปนแดง จงอยปากสีเหลือง ขนสีขาวบริสุทธิ์ทั้งตัว ขนปีกชั้นแรกและชั้นที่สอง แซมดำแต่เมื่อหุบปีกแล้วจะดูเป็นสีขาวเกือบทั้งปีก หางพัดมีสีดำ แต่ขลิบขอบด้วยสีขาวคมชัด แข้ง นิ้ว สีเหลืองเล็บสีขาว
10. สีลายสามสี ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนเม็ดทรายสีแดงสด จงอนปากสีขาวอมเหลือง ขนบริเวณหัว คอ ไหล่ ปีก ขนปีกด้านนอก ระย้า อก และท้อง มีสีน้ำตาล และมีเส้นสีดำ ส่วนที่่ปลายขนมีจุดสีขาว โดยขนแต่ละใบจากปลายขนจะมีสีขาวร้อยละ 30 ของพื้นที่ ถัดลงมาเป็นสีดำร้อยละ 10 ของพื้นที่ ถัดลงมาอีกจะเป็นสีน้ำตาลเข้มร้อยละ 50 ของพื้นที่ และส่วนที่ติดกับก้านขน หรือขนอุยเป็นสีเทาร้อยละ 10 ของพื้นที่ ขนปีก หลักและหางพัด ปรากฎเป็นลักษณะของจุดกระจายเป็นสามสี คือ สีดำ น้ำตาล และขาว ขนหาง ขนหางข้างหางพัด และหางพัดด้านนอกมีสีของโคนขนเป็นสีดำแกมเขียว และบริเวณปลายจะมีจุดสีขาวผสมสีน้ำตาล หางพัดด้านนอกของเพศเมียเหมือนกับระย้า โคนขนมีสีเทา แข้ง นิ้ว เล็บ สีขาวอมเหลือง
11. สีโกโก้ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนเป็นเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีส้มปนแดง จงอยปากสีโกโก้ ขนทั้งตัวเป็นสีโกโก้ ไม่เข้มหรืออ่อนจนเกินไปและสม่ำเสมอไม่มีสีอื่น ๆ แซมสร้อยคอ และระย้าออกสีโกโก้ หรือสีช็อกโกแลตเข้มกว่าสีตามตัว แข้งนิ้ว และเล็บ เป็นสีโกโก้ (เดิมเป็นไก่พื้นเมืองของจังหวัดเพชรบุรี)
12. สีโกโก้บาร์ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย เป็นสีแดงสด ตาสีแดงหรือส้มปนแดง จงอยปากสีครีม หรือสีโกโก้ขนทั้งตัวเป็นสีโกโก้ ปลายขนจะเป็นสีโกโก้เข้ม โดยสลับกับสีโกโก้อ่อนเป็นช่วง ๆ และไม่มีสีอื่นปน แข้ง นิ้ว เล็บเป็นสีโกโก้
13. สีกระโกโก้ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีแดง หรือส้มปนแดง จงอยปากสีครีมหรือสีโกโก้ สีขนเหมือนสีกระดำ แต่เปลี่ยนจากสีดำเป็นสีโกโก้ แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีครีม หรือสีโกโก้
14. สีเทาเปรอะ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนเป็นเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีแดง หรือน้ำตาลเข้มมีขอบตา จงอยปากสีเทาหรือเทาดำ ขนทั้งตัวตั้งแต่สร้อยคอจนถึงหางจะมีสีเทานกพิราบ เทาเข้มเทาอ่อนขึ้นสลับกันอยู่ทั้งตัว ไม่มีสีอื่นปน ขนตามลำตัวตั้งแต่สร้อยคอจนถึงหางจะต้องไม่มี สีเหลือง หรือสีเทาขึ้นแซม แข้ง นิ้ว เล็บ สีเทาคล้ายหินชนวน หรือเขียวอมดำหรือสีเหลือง
สีไก่แจ้ไทย
1. สีไก่ป่าเหลือง ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีแดง หรือส้มปนแดง จงอยปากสีเหลืองหรือดำอมเหลือง ขนหัวเป็นสีแดงไล่เรื่อยไปเป็นสร้อยคอสีส้มเหลืองสว่างสดใส ระย้าสีเดียวกับสร้อยคอ ขนหลังและหัวปีกเป็นสีส้ม ปีกทั้งสองข้างเป็นสีน้ำเงินอมม่วง ส่วนขนปีกตั้งแต่ส่วนกลางขนปีกจนถึงส่วนกลางที่สัมผัสพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยมที่เราเรียกกันว่าสาบปีกนั้นเป็นสีน้ำตาลแดง ขนอกใต้ท้องเป็นสีดำ ขนหางทั้งหมดเป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ แข้ง นิ้ว สีเหลือง หรือเขียวอมเทา ตัวเมียทั้งตัวจะเป็นสีครีมนวล สร้อยคอเป็นสีนวลอมน้ำตาล หางดำอมน้ำตาลเล็กน้อย
2. สีไก่ป่าเข้ม ตัวผู้ หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนเป็นเม็ดทราย ตาสีแดงหรือส้มปนแดง จงอยปากสีเหลืองหรือดำอมเหลือง ขนหัว สร้อยคอ ระย้า สีน้ำตาลอมแดง แต่สีไม่เข้มเท่าสีเม็ดมะขาม ปีกทั้ง 2 ข้างเป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ ตรงสาบปีกที่เป็นรูปสามเหลี่ยมสีน้ำตาลแดงเข้ม ขนอก ใต้ท้องเป็นสีดำ ขนหางทั้งหมดตั้งแต่เครื่องคลุม หางพัด หางชัยเป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ บัวหงาย(ขนอุย) สีดำ แข้ง นิ้ว เล็บ มีทั้งสีเหลือง และสีเหลืองอมเขียว สีเขียวและสีเขียวอมเทา
ตัวเมีย สีน้ำตาลอมเหลือง ใบขนแต่ละเส้นจะมีลายละเอียด ๆ เป็นสีน้ำตาลดำอยู่ในใบขนแต่ละใบ ขนคอหรือสร้อยคอสีไม่เด่นชัด ขนอกไล่ไปถึงใต้ท้องเป็นสีนวล ขนปีกและหางพัดเป็นสีเดียวกัน คือเป็นสีน้ำตาลอมดำ แข้ง นิ้ว เล็บ ก็เช่นเดียวกับไก่แจ้ตัวผู้
3. สีไก่ป่าหูขาว ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายหรือพื้นกำมะหยี่ แต่ติ่งหูทั้งสองข้างเป็นสีขาวแป้งเต็มแผ่นของติ่งหู ส่วนสีขนและอื่น ๆ มีทั้ง 2 สี คือ ทั้งสีไก่ป่าเหลือง และสีไก่ป่าเข้ม
ส่วนตัวเมีย ก็เช่นกัน สีขนและสีอื่น ๆ ก็เหมือนตัวเมียสีไก่ป่าเหลือง และสีไก่ป่าเข้ม ยกเว้นตรงติ่งหูเท่านั้นจะต้องเป็นสีขาวแป้ง
4. สีโนรี ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีส้ม จงอยปากสีขาวนวลอมน้ำตาล สีขนตั้งแต่หัวจนถึงสร้อยคอและระย้าเป็นสีส้มแดงจัด หลังและหัวปีกทั้ง 2 ข้าง เขียวเหลือบปีกแมลงทับ ขนอ่อนใต้ปีกเมื่อกางปีกออกจะเป็นสีน้ำตาลแดง เครื่องคลุมหางใบขนสีดำ ขลิบขอบด้วยสีน้ำตาลแดง หางพัดและหางชัยเป็นสีน้ำมันเหลือบสีปีกแมลงทับ ถ้าขนอุยหรือบัวหงายขลิบขอบด้วยน้ำตาลแดงจะสวยงาม แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวลหรือสีเหลือง
ตัวเมีย ตั้งแต่หัวจนถึงสร้อยคอ ขนเป็นสีน้ำตาลแดงจัด เข้มกว่าส่วนอื่น ๆ นอกนั้นทั้งตัวขนเป็นสีน้ำตาลแดง หางพัดเป็นสีน้ำตาลดำ แข้ง เล็บ เป็นสีขาวนวลหรือสีเหลือง
5. สีประดู่ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีแดง จงอยปากสีดำอมเขียว เส้น ขนอก สร้อยคอและสร้อยระย้าเป็นสีเม็ดมะขาม หลังและหัวปีกทั้ง 2 ข้างดำเป็นเงาเหลือบเขียวปีกแมลงทับ ไม่มีสาบปีก ใต้คอ หน้าอก จนถึงท้อง บัวหงายหรือขนอุย เครื่องคลุมหางพัด หางชัย เป็นสีดำมันเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ แข้ง ขา นิ้ว เล็บ เป็นสีเขียว หรือเขียวอมเหลือง จุดสังเกตุเพื่อความเข้าใจง่าย คือ ไม่มีสาบปีก ขนสีดำล้วน ๆ
ตัวเมีย สีขนทั้งตัวคล้ายไก่สีดำประปราย เครื่องคลุมขนสีดำปนขาว หางกะรวยเป็นสีขาว หางพัดที่ใกล้กับหางชัยจะเป็นสีขาวมากกว่าสีดำ ส่วนหางพัดใบอื่น ๆ เป็นสีดำแต่หางพัดจะเป็นสีขาวคล้าย ๆ กับไก่สีกระจงอยปาก แข้ง เล็บ จะเป็นสีขาวอมเหลือง คล้ายสีงาช้าง
ตัวเมียสีเหลืองหางขาว สีขนทั้งตัว จะเป็นสีดำขนบนหัว-หัวปีก ทั้ง 2 ข้าง ข้อขาทั้ง 2 ข้าง จะมีขนสีขาวแซมเป็นหย่อม ๆ ส่วนของขนหางจะเป็นสีดำตลอด ตาสีเหลือง หรือออกสีส้มสดใส ปาก แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวอมเหลือง
7. สีเบญจรงค์ ตัวผู้ หน้าหงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีแดง หรือส้ม จงอยปาก แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีเหลือง หรือสีเขียวเส้นของตัวผู้จะสังเกตุได้ง่ายเริ่มตั้งแต่หัวจรดสร้อยคอ และระย้า ปลายของเส้นขนเป็นสีงาช้างถึงกลางเส้น ต่อจากนั้นจนถึงโคนของเส้นขนจะเป็นสีแดงทับทิม หน้าอกเป็นแว่นสีน้ำตาลแดงโคนของใบขนเป็นสีดำหลังและหัวปีกทั้งสองข้าง หางพัดและหางชัย เป็นสีน้ำตาลเหลือบเขียวปีกแมลงทับ บัวหงายเป็นสีดำ สรุปสีของตัวผู้คือ 1 สีงาช้าง 2 สีแดงทับทิม 3 สีน้ำตาลแดง 4 สีดำ 5 สีเขียวปีกแมลงทับ
ตัวเมีย คล้ายสีลายนกกระจอก แต่ต่างกันคือ ใบหน้าเป็นวงขาวครีม สร้อยคอเป็นสีน้ำตาลเทาขลิบขอบด้วยสีครีม หน้าอกเป็นสีครีมออกน้ำตาล หรือใบขนหน้าอาจจะขลิบขอบด้วยสีน้ำตาลเทา ใบขนทั้งตัวจนถึงหางคลุม หรือเครื่องคลุมเป็นสีน้ำตาลเทาขลิบขอบด้วยสีครีม และก้านขนเป็นสีครีม หางพัด หางชัยเป็นสีน้ำตาลขลิบขอบด้วยสีครีม ก้านขนสีครีม ส่วนอื่น ๆ เช่นเดียวกับตัวผู้
8. สีสร้อยสุวรรณ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีส้มสดใส จงอยปากสีดำอมเขียว ปลายปากบนสีขาวอมเหลืองตั้งแต่หัว สร้อยคอ และระย้า ใบขนเป็นสีส้ม หลังและหัวปีกทั้ง 2 ข้างเป็นสีส้ม ปีกทั้ง 2 ข้างเป็นสีดำมันเหลือบเขียว คล้ายปีกแมลงทับและอาจมีขนปีกแซมขาวได้ข้างละ 1 ใบ ขนหน้าอกแต่ละใบขลิบด้วยสีส้มคล้าย ๆ กับสีหน้าอกของไก่แจ้สีดอกหมาก ซึ่งขลิบขอบด้วยสีเทาเงิน ส่วนสีอื่น ๆ รวมทั้งเครื่องคลุม บัวหงาย หางพัด หางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีเหลือง
ตัวเมีย สีสร้อยสุวรรณ สีขนทั้งตัวเหมือนกับตัวเมียสีเหลืองลูกปลา จะต่างกันตรงหน้าอกของสีสร้อยสุวรรณ ใบขนแต่ละใบจะต้องขลิบขอบด้วยสีส้มเช่นเดียวกันกับตัวผู้ แต่หน้าอกของสีเหลืองลูกปลาใบขนแต่ละใบเป็นสีดำไม่มีขลิบของสีส้ม ตา ปาก แข้ง นิ้ว เล็บ เหมือนกับตัวผู้
9. สีเหลืองลูกปลา ตัวผู้หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีส้มสดใส จงอยปากสีดำอมเขียว ปลายปากบนสีขาวอมเหลือง ตั้งแต่หัว-สร้อยคอ และระย้าใบขนเป็นสีแดงส้ม แกนกลางและขนตรงกลางเป็นสีดำ ถ้าดึงขนออกมาจะเป็นลักษณะขนสีดำขลิบขอบด้วยสีส้มแดง ปลายขนมีจุดดำ หลังและหัวปีกทั้งสองข้าง ไม่มีสาบเป็นสีดำมันเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ ขนทั้งตัวบัวหงายหรือขนอุย ขนเครื่องคลุม หางชัยหางพัด เป็นสีดำมันเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ ถ้าขนตัวออกสีดำด้าน หรือสร้อยระย้าเป็นสีเหลืองนวล ถือว่าไม่ใช่สีไก่เหลืองลูกปลา แข้ง นิ้วเล็บ เป็นสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
ตัวเมีย สีขนทั้งตัวจะเป็นสีดำ จุดเด่นของตัวเมียเหลืองลูกปลาคือ มีเฉพาะสร้อยคอแกนกลางเป็นสีดำขลิบขอบด้วยสีส้มแดง และขนทัั้งตัวเป็นสีดำเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ ตาสีส้ม จงอยปากสีดำอมเขียวปลายปากบนสีขาวอมเหลือง แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
10. สีเหลือง ดอกโสน ตัวหน้า ผู้ หงอน เหนียง ติ่งหู ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีส้มสดใส จงอยปากสีขาวนวล หรือสีเหลือง ขนหัว สร้อยคอระย้าเป็นสีเหลืองเหมือนดอกโสน ก้านขนของสร้อยคอและระย้ามีสีดำจะเหลืองเท่ากันหมด หัวปีกทั้งสองข้างและหลังเส้นขนจะเป็นสีน้ำตาลแดง สาบปีกทั้งสองข้างเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ขนปีกดำมันเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ หน้าอก ใต้ท้อง จนถึงขนบัวหงายเป็นสีดำขนหางเครื่องคลุมหางพัดหางชัย เป็นสีดำมันเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ แข้ง นิ้วเล็บ เป็นสีขาวนวลหรือสีเหลือง
ตัวเมีย คล้ายไก่ป่าสีเหลือง ต่างกันที่สร้อยคอ คือตัวเมียสีดอกโสน ขนสร้อยคอจะเป็นสีครีมนวลหลังปีก โคนหางเป็นสีนวลอมน้ำตาลเล็กน้อย จงอยปาก นิ้ว แข้ง เล็บ เหมือนกันกับตัวผู้
11. สีกาบอ้อย ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีส้มปนแดงหรือสีส้มเหลือง ขนหัวสร้อยคอ และระย้าเป็นสีครีมอมน้ำตาล น้ำตาลอ่อนมากดูเป็นสีนวล โคนของเส้นขนสร้อยและระย้าเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ขนหลัง และหัวปีกทั้ง 2 เป็นสีน้ำตาลแดง ปีกทั้งสองข้างสีดำเหลือบเขียวแมลงทับ ตรงสาบปีกรูปสามเหลี่ยมเป็นสีน้ำตาลอ่อน ขนหน้าอก ใต้ท้อง เป็นสีดำมันเครื่องคลุมอาจจะมีขลิบขอบเป็นสีครีมนวล หางพัด หางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ หัวหงาย ขนอุยเป็นสีดำ นิ้วเล็บ เป็นสีขาวนวล สีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
ตัวเมีย ขนตั้งแต่หัวถึงสร้อยคอเป็นสีเข้มสีเทาอมน้ำตาล ใต้คอ หน้าอกถึงใต้ท้องเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ส่วนสีตัวจนถึงเครื่องคลุมจะเป็นสีน้ำตาลอมดำ ใบหางพัดทั้งหมดเป็นสีดำน้ำตาล แข้ง นิ้วเล็บเป็นสีขาวนวล หรือสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
12. สีกาบหมาก ตัวผู้หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีส้มปนแดง หรือเหลืองส้ม จงอยปากสีขาว หรือเหลือง หรือดำอมเหลือง ขนหัว สร้อยคอ ระย้าเป็นสีขาวไม่มีสีดำปนหลัง ขนหลังและหัวปีกทั้งสองข้างเป็นสีเหลืองอมขาวผสมดำ ปีกทั้งสองข้างเป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ ตรงสาบปีกที่เป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นสีขาวนวล ขนอก ใต้ท้องเป็นสีดำ ขนหางทั้งหมดตั้งแต่เครื่องคลุม หางพัด หางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ บัวหงายหรือขนอุย สีดำ แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวลหรือเหลือง หรือสีเหลืองอมเขียว
ตัวเมีย ขนตั้งแต่หัวจนถึงสร้อยคอจะเข้ม เป็นสีเทาอมน้ำตาล ใต้คอ หน้าอก ถึงใต้ท้อง เป็นสีครีมนวล ส่วนสีตัวถึงเครื่องคลุมเป็นสีน้ำตาลปนดำ ใบหางพัดทั้งหมดเป็นสีดำน้ำตาล แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล หรือสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
หมายเหตุ ตัวเมียลายนกกระจอกสีขนทั้งตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ใบขนตั้งแต่หัวถึงใต้คางเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม หน้าอกถึงใต้ท้องเป็นสีน้ำตาลแดง สร้อยคอเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองขลิบขอบด้วยสีน้ำตาลอมดำ สวยงามมาก ส่วนสีตัวตั้งแต่หัวปีกจนถึงโคนหาง ใบขนแต่ละใบคล้าย ๆ เกล็ดปลา คือใบขนแต่ละใบเป็นสีน้ำตาล ก้านขนและขอบขนเป็นสีครีม ซึ่งเป็นจุดเด่นประจำตัว ปีก 2 ข้างเป็นสีน้ำตาลมีลาย หางคลุมเป็นสีน้ำตาล ก้านขนสีครีม หางพัดทั้งหมด 80% เป็นสีน้ำตาลอมดำ แข้ง นิ้ว เล็บ มีทั้งสีเหลือง สีเหลืองอมเขียว สีเขียว หรือสีเขียวอมเทา ตัวเมียสีลายนกระจอกเป็๋นสีไก่แจ้ ตัวเมียที่นิยมเลี้ยงอีกสีหนึ่ง ถ้าต้องการตัวเมียสีนี้ต้องผสมกับตัวผู้สีไก่ป่าเข้มแต่ถ้านำตัวเมียสีลายนกกระจอก ผสมกับตัวผู้สีไก่ป่าเหลือง ลูกออกมาเป็นตัวเมียสีจะกลับกลายเป็นสีไก่ป่าตัวเมีย ถ้าลูกเป็นตัวผู้ส่วนใหญ่จะเป็นสีไก่ป่าเข้ม จะได้สีไก่ป่าเหลืองน้อยมาก
1. สีไก่ป่าเหลือง ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีแดง หรือส้มปนแดง จงอยปากสีเหลืองหรือดำอมเหลือง ขนหัวเป็นสีแดงไล่เรื่อยไปเป็นสร้อยคอสีส้มเหลืองสว่างสดใส ระย้าสีเดียวกับสร้อยคอ ขนหลังและหัวปีกเป็นสีส้ม ปีกทั้งสองข้างเป็นสีน้ำเงินอมม่วง ส่วนขนปีกตั้งแต่ส่วนกลางขนปีกจนถึงส่วนกลางที่สัมผัสพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยมที่เราเรียกกันว่าสาบปีกนั้นเป็นสีน้ำตาลแดง ขนอกใต้ท้องเป็นสีดำ ขนหางทั้งหมดเป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ แข้ง นิ้ว สีเหลือง หรือเขียวอมเทา ตัวเมียทั้งตัวจะเป็นสีครีมนวล สร้อยคอเป็นสีนวลอมน้ำตาล หางดำอมน้ำตาลเล็กน้อย
2. สีไก่ป่าเข้ม ตัวผู้ หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนเป็นเม็ดทราย ตาสีแดงหรือส้มปนแดง จงอยปากสีเหลืองหรือดำอมเหลือง ขนหัว สร้อยคอ ระย้า สีน้ำตาลอมแดง แต่สีไม่เข้มเท่าสีเม็ดมะขาม ปีกทั้ง 2 ข้างเป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ ตรงสาบปีกที่เป็นรูปสามเหลี่ยมสีน้ำตาลแดงเข้ม ขนอก ใต้ท้องเป็นสีดำ ขนหางทั้งหมดตั้งแต่เครื่องคลุม หางพัด หางชัยเป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ บัวหงาย(ขนอุย) สีดำ แข้ง นิ้ว เล็บ มีทั้งสีเหลือง และสีเหลืองอมเขียว สีเขียวและสีเขียวอมเทา
ตัวเมีย สีน้ำตาลอมเหลือง ใบขนแต่ละเส้นจะมีลายละเอียด ๆ เป็นสีน้ำตาลดำอยู่ในใบขนแต่ละใบ ขนคอหรือสร้อยคอสีไม่เด่นชัด ขนอกไล่ไปถึงใต้ท้องเป็นสีนวล ขนปีกและหางพัดเป็นสีเดียวกัน คือเป็นสีน้ำตาลอมดำ แข้ง นิ้ว เล็บ ก็เช่นเดียวกับไก่แจ้ตัวผู้
3. สีไก่ป่าหูขาว ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายหรือพื้นกำมะหยี่ แต่ติ่งหูทั้งสองข้างเป็นสีขาวแป้งเต็มแผ่นของติ่งหู ส่วนสีขนและอื่น ๆ มีทั้ง 2 สี คือ ทั้งสีไก่ป่าเหลือง และสีไก่ป่าเข้ม
ส่วนตัวเมีย ก็เช่นกัน สีขนและสีอื่น ๆ ก็เหมือนตัวเมียสีไก่ป่าเหลือง และสีไก่ป่าเข้ม ยกเว้นตรงติ่งหูเท่านั้นจะต้องเป็นสีขาวแป้ง
4. สีโนรี ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายสีแดงสด ตาสีส้ม จงอยปากสีขาวนวลอมน้ำตาล สีขนตั้งแต่หัวจนถึงสร้อยคอและระย้าเป็นสีส้มแดงจัด หลังและหัวปีกทั้ง 2 ข้าง เขียวเหลือบปีกแมลงทับ ขนอ่อนใต้ปีกเมื่อกางปีกออกจะเป็นสีน้ำตาลแดง เครื่องคลุมหางใบขนสีดำ ขลิบขอบด้วยสีน้ำตาลแดง หางพัดและหางชัยเป็นสีน้ำมันเหลือบสีปีกแมลงทับ ถ้าขนอุยหรือบัวหงายขลิบขอบด้วยน้ำตาลแดงจะสวยงาม แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวลหรือสีเหลือง
ตัวเมีย ตั้งแต่หัวจนถึงสร้อยคอ ขนเป็นสีน้ำตาลแดงจัด เข้มกว่าส่วนอื่น ๆ นอกนั้นทั้งตัวขนเป็นสีน้ำตาลแดง หางพัดเป็นสีน้ำตาลดำ แข้ง เล็บ เป็นสีขาวนวลหรือสีเหลือง
5. สีประดู่ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีแดง จงอยปากสีดำอมเขียว เส้น ขนอก สร้อยคอและสร้อยระย้าเป็นสีเม็ดมะขาม หลังและหัวปีกทั้ง 2 ข้างดำเป็นเงาเหลือบเขียวปีกแมลงทับ ไม่มีสาบปีก ใต้คอ หน้าอก จนถึงท้อง บัวหงายหรือขนอุย เครื่องคลุมหางพัด หางชัย เป็นสีดำมันเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ แข้ง ขา นิ้ว เล็บ เป็นสีเขียว หรือเขียวอมเหลือง จุดสังเกตุเพื่อความเข้าใจง่าย คือ ไม่มีสาบปีก ขนสีดำล้วน ๆ
ตัวเมีย สีขนทั้งตัวคล้ายไก่สีดำประปราย เครื่องคลุมขนสีดำปนขาว หางกะรวยเป็นสีขาว หางพัดที่ใกล้กับหางชัยจะเป็นสีขาวมากกว่าสีดำ ส่วนหางพัดใบอื่น ๆ เป็นสีดำแต่หางพัดจะเป็นสีขาวคล้าย ๆ กับไก่สีกระจงอยปาก แข้ง เล็บ จะเป็นสีขาวอมเหลือง คล้ายสีงาช้าง
ตัวเมียสีเหลืองหางขาว สีขนทั้งตัว จะเป็นสีดำขนบนหัว-หัวปีก ทั้ง 2 ข้าง ข้อขาทั้ง 2 ข้าง จะมีขนสีขาวแซมเป็นหย่อม ๆ ส่วนของขนหางจะเป็นสีดำตลอด ตาสีเหลือง หรือออกสีส้มสดใส ปาก แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวอมเหลือง
7. สีเบญจรงค์ ตัวผู้ หน้าหงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีแดง หรือส้ม จงอยปาก แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีเหลือง หรือสีเขียวเส้นของตัวผู้จะสังเกตุได้ง่ายเริ่มตั้งแต่หัวจรดสร้อยคอ และระย้า ปลายของเส้นขนเป็นสีงาช้างถึงกลางเส้น ต่อจากนั้นจนถึงโคนของเส้นขนจะเป็นสีแดงทับทิม หน้าอกเป็นแว่นสีน้ำตาลแดงโคนของใบขนเป็นสีดำหลังและหัวปีกทั้งสองข้าง หางพัดและหางชัย เป็นสีน้ำตาลเหลือบเขียวปีกแมลงทับ บัวหงายเป็นสีดำ สรุปสีของตัวผู้คือ 1 สีงาช้าง 2 สีแดงทับทิม 3 สีน้ำตาลแดง 4 สีดำ 5 สีเขียวปีกแมลงทับ
ตัวเมีย คล้ายสีลายนกกระจอก แต่ต่างกันคือ ใบหน้าเป็นวงขาวครีม สร้อยคอเป็นสีน้ำตาลเทาขลิบขอบด้วยสีครีม หน้าอกเป็นสีครีมออกน้ำตาล หรือใบขนหน้าอาจจะขลิบขอบด้วยสีน้ำตาลเทา ใบขนทั้งตัวจนถึงหางคลุม หรือเครื่องคลุมเป็นสีน้ำตาลเทาขลิบขอบด้วยสีครีม และก้านขนเป็นสีครีม หางพัด หางชัยเป็นสีน้ำตาลขลิบขอบด้วยสีครีม ก้านขนสีครีม ส่วนอื่น ๆ เช่นเดียวกับตัวผู้
8. สีสร้อยสุวรรณ ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีส้มสดใส จงอยปากสีดำอมเขียว ปลายปากบนสีขาวอมเหลืองตั้งแต่หัว สร้อยคอ และระย้า ใบขนเป็นสีส้ม หลังและหัวปีกทั้ง 2 ข้างเป็นสีส้ม ปีกทั้ง 2 ข้างเป็นสีดำมันเหลือบเขียว คล้ายปีกแมลงทับและอาจมีขนปีกแซมขาวได้ข้างละ 1 ใบ ขนหน้าอกแต่ละใบขลิบด้วยสีส้มคล้าย ๆ กับสีหน้าอกของไก่แจ้สีดอกหมาก ซึ่งขลิบขอบด้วยสีเทาเงิน ส่วนสีอื่น ๆ รวมทั้งเครื่องคลุม บัวหงาย หางพัด หางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีเหลือง
ตัวเมีย สีสร้อยสุวรรณ สีขนทั้งตัวเหมือนกับตัวเมียสีเหลืองลูกปลา จะต่างกันตรงหน้าอกของสีสร้อยสุวรรณ ใบขนแต่ละใบจะต้องขลิบขอบด้วยสีส้มเช่นเดียวกันกับตัวผู้ แต่หน้าอกของสีเหลืองลูกปลาใบขนแต่ละใบเป็นสีดำไม่มีขลิบของสีส้ม ตา ปาก แข้ง นิ้ว เล็บ เหมือนกับตัวผู้
9. สีเหลืองลูกปลา ตัวผู้หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีส้มสดใส จงอยปากสีดำอมเขียว ปลายปากบนสีขาวอมเหลือง ตั้งแต่หัว-สร้อยคอ และระย้าใบขนเป็นสีแดงส้ม แกนกลางและขนตรงกลางเป็นสีดำ ถ้าดึงขนออกมาจะเป็นลักษณะขนสีดำขลิบขอบด้วยสีส้มแดง ปลายขนมีจุดดำ หลังและหัวปีกทั้งสองข้าง ไม่มีสาบเป็นสีดำมันเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ ขนทั้งตัวบัวหงายหรือขนอุย ขนเครื่องคลุม หางชัยหางพัด เป็นสีดำมันเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ ถ้าขนตัวออกสีดำด้าน หรือสร้อยระย้าเป็นสีเหลืองนวล ถือว่าไม่ใช่สีไก่เหลืองลูกปลา แข้ง นิ้วเล็บ เป็นสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
ตัวเมีย สีขนทั้งตัวจะเป็นสีดำ จุดเด่นของตัวเมียเหลืองลูกปลาคือ มีเฉพาะสร้อยคอแกนกลางเป็นสีดำขลิบขอบด้วยสีส้มแดง และขนทัั้งตัวเป็นสีดำเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ ตาสีส้ม จงอยปากสีดำอมเขียวปลายปากบนสีขาวอมเหลือง แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
10. สีเหลือง ดอกโสน ตัวหน้า ผู้ หงอน เหนียง ติ่งหู ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีส้มสดใส จงอยปากสีขาวนวล หรือสีเหลือง ขนหัว สร้อยคอระย้าเป็นสีเหลืองเหมือนดอกโสน ก้านขนของสร้อยคอและระย้ามีสีดำจะเหลืองเท่ากันหมด หัวปีกทั้งสองข้างและหลังเส้นขนจะเป็นสีน้ำตาลแดง สาบปีกทั้งสองข้างเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ขนปีกดำมันเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ หน้าอก ใต้ท้อง จนถึงขนบัวหงายเป็นสีดำขนหางเครื่องคลุมหางพัดหางชัย เป็นสีดำมันเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ แข้ง นิ้วเล็บ เป็นสีขาวนวลหรือสีเหลือง
ตัวเมีย คล้ายไก่ป่าสีเหลือง ต่างกันที่สร้อยคอ คือตัวเมียสีดอกโสน ขนสร้อยคอจะเป็นสีครีมนวลหลังปีก โคนหางเป็นสีนวลอมน้ำตาลเล็กน้อย จงอยปาก นิ้ว แข้ง เล็บ เหมือนกันกับตัวผู้
11. สีกาบอ้อย ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีส้มปนแดงหรือสีส้มเหลือง ขนหัวสร้อยคอ และระย้าเป็นสีครีมอมน้ำตาล น้ำตาลอ่อนมากดูเป็นสีนวล โคนของเส้นขนสร้อยและระย้าเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ขนหลัง และหัวปีกทั้ง 2 เป็นสีน้ำตาลแดง ปีกทั้งสองข้างสีดำเหลือบเขียวแมลงทับ ตรงสาบปีกรูปสามเหลี่ยมเป็นสีน้ำตาลอ่อน ขนหน้าอก ใต้ท้อง เป็นสีดำมันเครื่องคลุมอาจจะมีขลิบขอบเป็นสีครีมนวล หางพัด หางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ หัวหงาย ขนอุยเป็นสีดำ นิ้วเล็บ เป็นสีขาวนวล สีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
ตัวเมีย ขนตั้งแต่หัวถึงสร้อยคอเป็นสีเข้มสีเทาอมน้ำตาล ใต้คอ หน้าอกถึงใต้ท้องเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ส่วนสีตัวจนถึงเครื่องคลุมจะเป็นสีน้ำตาลอมดำ ใบหางพัดทั้งหมดเป็นสีดำน้ำตาล แข้ง นิ้วเล็บเป็นสีขาวนวล หรือสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
12. สีกาบหมาก ตัวผู้หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย ตาสีส้มปนแดง หรือเหลืองส้ม จงอยปากสีขาว หรือเหลือง หรือดำอมเหลือง ขนหัว สร้อยคอ ระย้าเป็นสีขาวไม่มีสีดำปนหลัง ขนหลังและหัวปีกทั้งสองข้างเป็นสีเหลืองอมขาวผสมดำ ปีกทั้งสองข้างเป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ ตรงสาบปีกที่เป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นสีขาวนวล ขนอก ใต้ท้องเป็นสีดำ ขนหางทั้งหมดตั้งแต่เครื่องคลุม หางพัด หางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ บัวหงายหรือขนอุย สีดำ แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวลหรือเหลือง หรือสีเหลืองอมเขียว
ตัวเมีย ขนตั้งแต่หัวจนถึงสร้อยคอจะเข้ม เป็นสีเทาอมน้ำตาล ใต้คอ หน้าอก ถึงใต้ท้อง เป็นสีครีมนวล ส่วนสีตัวถึงเครื่องคลุมเป็นสีน้ำตาลปนดำ ใบหางพัดทั้งหมดเป็นสีดำน้ำตาล แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล หรือสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
หมายเหตุ ตัวเมียลายนกกระจอกสีขนทั้งตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ใบขนตั้งแต่หัวถึงใต้คางเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม หน้าอกถึงใต้ท้องเป็นสีน้ำตาลแดง สร้อยคอเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองขลิบขอบด้วยสีน้ำตาลอมดำ สวยงามมาก ส่วนสีตัวตั้งแต่หัวปีกจนถึงโคนหาง ใบขนแต่ละใบคล้าย ๆ เกล็ดปลา คือใบขนแต่ละใบเป็นสีน้ำตาล ก้านขนและขอบขนเป็นสีครีม ซึ่งเป็นจุดเด่นประจำตัว ปีก 2 ข้างเป็นสีน้ำตาลมีลาย หางคลุมเป็นสีน้ำตาล ก้านขนสีครีม หางพัดทั้งหมด 80% เป็นสีน้ำตาลอมดำ แข้ง นิ้ว เล็บ มีทั้งสีเหลือง สีเหลืองอมเขียว สีเขียว หรือสีเขียวอมเทา ตัวเมียสีลายนกระจอกเป็๋นสีไก่แจ้ ตัวเมียที่นิยมเลี้ยงอีกสีหนึ่ง ถ้าต้องการตัวเมียสีนี้ต้องผสมกับตัวผู้สีไก่ป่าเข้มแต่ถ้านำตัวเมียสีลายนกกระจอก ผสมกับตัวผู้สีไก่ป่าเหลือง ลูกออกมาเป็นตัวเมียสีจะกลับกลายเป็นสีไก่ป่าตัวเมีย ถ้าลูกเป็นตัวผู้ส่วนใหญ่จะเป็นสีไก่ป่าเข้ม จะได้สีไก่ป่าเหลืองน้อยมาก
ธรรมชาติของไก่แจ้ที่ควรรู้
1. ด้านสายพันธุ์ ไก่แจ้ไทยมีมานานแล้ว
โดยมากจะพบในวัด มี 2 สาเหตุคือ ไก่ในวัดที่ถูกเลี้ยงดูแบบธรรมชาติ
ไม่มีการจัดการในเรื่องของการผสมพันธุ์ที่ถูกต้องจึงมีการผสมแบบเลือดชิด
จนได้ไก่แจ้ขึ้น ส่วนประเด็นที่สองคือ ในอดีตไม่มีความเข้าใจในเรื่องการผสมพันธุ์แบบเลือดชิด จึงไม่มีการวางแผนผสมพันธุ์ที่ดี และนำไปปล่อยวัดในเวลาต่อมา และเมื่อมีการเลี้ยงไก่แจ้มากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ ให้เตี้ยลง เล็กลง ได้ขนาดและสัดส่วนมากยิ่งขึ้น
ไม่มีการจัดการในเรื่องของการผสมพันธุ์ที่ถูกต้องจึงมีการผสมแบบเลือดชิด
จนได้ไก่แจ้ขึ้น ส่วนประเด็นที่สองคือ ในอดีตไม่มีความเข้าใจในเรื่องการผสมพันธุ์แบบเลือดชิด จึงไม่มีการวางแผนผสมพันธุ์ที่ดี และนำไปปล่อยวัดในเวลาต่อมา และเมื่อมีการเลี้ยงไก่แจ้มากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ ให้เตี้ยลง เล็กลง ได้ขนาดและสัดส่วนมากยิ่งขึ้น
2. ด้านกายวิภาค โครงสร้างของกระดูกไก่ถูกออกแบบมาเพื่อให้หลบหนีได้เร็ว
คล่องตัวในเรื่องการวิ่งและบิน ดังนั้นกระดูกไก่ต้องเบา แต่แข็ง
มีจำนวนกระดูกน้อยชิ้น ในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อถูกออกแบบให้สอดคล้องกันกับ
ระบบโครงสร้างของกระดูก โดยมีกล้ามเนื้อหน้าอกใหญ่
มีน่องและเอ็นที่แข็งแรงเพื่อให้สามารถจับคอน หรือนอนบนต้นไม้ได้
ขนทำหน้าที่ควบคุมอุณภูมิในร่างกาย และปกป้องผิวหนังเพราะผิวหนังของไก่จะบางมาก
3. ด้านการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม สิ่งที่ควรรู้คือ
ระบบการควบคุมอุณภูมิภายในร่างกาย เพราะมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไก่เป็นอย่างมาก
กล่าวคือลูกไก่ต้องการอุณภูมิที่่ค่อนข้างสูงคือ 35 องศาเซลเซียส
ขณะที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมค่อนข้างน้อย
ด้วยเหตุนี้เองแม่ไก่จึงต้องทำหน้าที่กกลูกเมื่อแรกเกิดเพื่อให้ความอบอุ่นตามอุณภูมิที่ลูกไก่ควรได้รับ
และเมื่อไก่มีอายุมากยิ่งขึ้นก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากันกับสิ่งแวดล้อมได้มากยิ่งขึ้น
และอุณภูมิที่ไก่ต้องการก็จะแปรผันไปตามอายุของไก่ด้วยเช่นกัน
อุณภูมิและอากาศที่ถ่ายเทเป็นสิ่งสำคัญทำให้ส่งผลต่อตัวไก่
เพราะหากร้อนเกินอาจทำให้ไก่ชะงักการเจริญเติบโต และหากมีความชื้นมากจนเกินไปก็จะส่งผลให้ไก่เป็นโรคได้ง่าย
4. ความต้องการด้านอาหาร ไก่แจ้มีความต้องการด้านอาหารตามพัฒนาการและอายุ
ในแต่ละช่วงวัยจะมีความต้องการด้านอาหารที่แตกต่างกันออกไป ไก่เล็ก
จะมีความต้องการปริมาณของโปรตีนที่ค่อนข้างสูงเพื่อการเจริญเติบโตที่ดี
และหากเมื่อโตขึ้นก็จะมีความต้องการในเรื่องของโปรตีนที่น้อยลง
เราจะสามารถลดสูตรอาหารลงได้เพื่อให้เหมาะสมกับช่วงวัย
และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู
แต่อย่างไรก็ตามสารอาหารก็ต้องเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของไก่ด้วยเช่นกัน
5. พฤติกรรม ไก่แจ้จัดเป็นสัตว์สังคม
ดังนั้นภายในฝูงจึงมีการจัดลำดับชั้นให้ฝูงของตน
โดยการจัดลำดับชั้นหรือการเลือกหัวหน้าหมู่ หรือฝูงนั้น
มีวิธีการคัดเลือกด้วยการจิกตีกันแต่จะไม่รุนแรง
ปกติแล้วไก่ตัวผู้มีการผสมพันธุ์ได้วันละประมาณ 45 ครั้ง
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของตัวผู้ การจับคู่ก็ต้องมีอัตราส่วนที่เหมาะสมไม่อย่างนั้นอาจทำให้แม่ไก่โทรมได้
เช่นควรจัดให้พ่อไก่1:3 หรือ 1:5 ประมาณนี้ก็ได้
ขณะเดียวกันหากมีแม่ไก่มากอัตราการผสมติดก็จะต่ำ การออกไข่ของไก่นั้นก็จะขึ้นอยู่กับแสงมากกว่าอุณภูมิและถ้าแม่ไก่ได้กกไก่เอง หรือเลี้ยงลูกเองแล้วแม่ไก่ก็จะไม่ให้ไข่ ดังนั้นถ้าต้องการให้แม่ไก่ออกไข่มากควรกระตุ้น โดยการเปิดไฟให้มีแสงวันละประมาณ 16 ชั่วโมง และควรนำไข่เข้าเครื่องฟัก (ไม่ให้กกไข่และเลี้ยงลูก) การให้ไข่จะให้เป็นชุด และเมื่อไก่อายุได้ 1 ปีกว่า จะมีการผลัดขน และให้ไข่ใหม่อีกครั้ง
ขณะเดียวกันหากมีแม่ไก่มากอัตราการผสมติดก็จะต่ำ การออกไข่ของไก่นั้นก็จะขึ้นอยู่กับแสงมากกว่าอุณภูมิและถ้าแม่ไก่ได้กกไก่เอง หรือเลี้ยงลูกเองแล้วแม่ไก่ก็จะไม่ให้ไข่ ดังนั้นถ้าต้องการให้แม่ไก่ออกไข่มากควรกระตุ้น โดยการเปิดไฟให้มีแสงวันละประมาณ 16 ชั่วโมง และควรนำไข่เข้าเครื่องฟัก (ไม่ให้กกไข่และเลี้ยงลูก) การให้ไข่จะให้เป็นชุด และเมื่อไก่อายุได้ 1 ปีกว่า จะมีการผลัดขน และให้ไข่ใหม่อีกครั้ง
6. การจัดช่วงอายุ การจัดช่วงอายุของไก่แจ้นั้น
ยังไม่มีการกำหนดชัดเจนเหมือนไก่ไข่ หรือไก่กระทง แต่อาจจัดได้อย่างกว้าง ๆ
ดังนี้
ไก่เล็ก 0-6 หรือ 0-9 สัปดาห์
ไก่รุ่น 6-12 หรือ 6-19 สัปดาห์
ไก่ใหญ่ 19-24 สัปดาห์ และไก่พ่อ-แม่พันธุ์ 24 สัปดาห์ เป็นต้น วัตถุประสงค์ในการจัดช่วงอายุของไก่ก็เพื่อ 1. สามารถดูแล จัดการตัวไก่ให้เข้ากับพัฒนาการของร่างกาย 2. ลดต้นทุนด้านอาหาร 3. จัดการด้านการวางโปรแกรมวัคซีนให้ถูกต้อง 4. วางแผนการเลี้ยงได้
ไก่เล็ก 0-6 หรือ 0-9 สัปดาห์
ไก่รุ่น 6-12 หรือ 6-19 สัปดาห์
ไก่ใหญ่ 19-24 สัปดาห์ และไก่พ่อ-แม่พันธุ์ 24 สัปดาห์ เป็นต้น วัตถุประสงค์ในการจัดช่วงอายุของไก่ก็เพื่อ 1. สามารถดูแล จัดการตัวไก่ให้เข้ากับพัฒนาการของร่างกาย 2. ลดต้นทุนด้านอาหาร 3. จัดการด้านการวางโปรแกรมวัคซีนให้ถูกต้อง 4. วางแผนการเลี้ยงได้
7. ระบบภูมิคุ้มกัน จะมีหลักกว้าง
ๆ เพื่อความเข้าใจ คือลูกไก่แรกเกิด 0-7 วัน จะมีภูมิคุ้มกันดีหรือไม่
จะขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ตลอดจนสุขภาพของลูกไก่เอง
ถ้าแม่ไก่มีสุขภาพแข็งแรงดี ภูมิคุ้มกันสูงลูกไก่ก็จะได้ภูมิคุ้มกันจากแม่ลดลง
จึงจำเป็นต้องทำวัคซีน เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น วัคซีนบางชนิดอาจทำครั้งเดียว
บางชนิดทำหลายครั้ง การทำวัคซีนไม่ได้มีหน้าที่เอาไว้รักษาโรค
เพราะถ้าเกิดโรคขึ้นจะทำให้รักษายากขึ้น
ดังนั้นการเลี้ยงไก่ที่ถูกต้องจึงต้องมีการทำวัคซีน เช่น นิวคลาสเซิล หลอดลมอักเสบ
หรือกัมโบโร
การจัดการดูแลไก่แจ้อายุต่าง ๆ
1. การดูแลไก่เล็ก 0-6 หรือ 0-9
สัปดาห์
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ลูกไก่จำเป็นต้องอยู่ในอุณภูมิที่เหมาะสม
ดังนั้นต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่อายุ 0- 2 สัปดาห์
อย่างไรก็ตามตั้งแต่อายุ 1 สัปดาห์เป็นต้นไป ควรลดอุณภูมิลงเรื่อย ๆ
จนอุณภูมิเท่ากับสภาพแวดล้อม ประมาณวันละ 0.51-1 องศา ข้อควรระวังคือ
พยายามอย่าให้อุณภูมิในตอนกลางวันสูงหรือแตกต่างจากอุณภูมิตอนกลางคืนมากนัก
อาหารควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพดี คือ 19-21% โปรตีนมีพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้
2,900-3,100 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหาร เมื่อลูกไก่อายุได้ 7 วัน
ต้องทำวัคซีนนิวคลาสเซิลและหลอดลมอักเสบ โดยการหยอดตาหรือจมูก
และทำซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุ ได้ 4 สัปดาห์
2. ไก่ระยะรุ่น ไก่ระยะนี้อายุช่วง
6-12 หรือ 6-19 สัปดาห์ ซึ่งมีการเจริญเติบโตรวดเร็วกว่าในระยะอื่น ๆ
และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ดังนั้นคุณภาพอาหารจะลดลง คือ โปรตีน 16-17%
และพลังงานที่ใช้ได้ประมาณ
2,700-2,800 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหารแต่ควรเสริมแร่ธาตุและวิตามินเป็นพิเศษ
เพราะมีความสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างของกระดูก และขน ให้เป็นความสมส่วน
ว้คซีนที่ให้ควรเป็นอหิวาต์ โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อและนิวคลาสเซิล โดยการแทงปีก
และทำซ้ำทุก ๆ 6 เดือน
3. ไก่ใหญ่ ไก่ระยะนี้อยู่ระหว่าง 19-24 หรือมากกว่า 24 สัปดาห์ ซึ่งการเจริญเติบโตหยุดแล้ว (ขน กล้ามเนื้อ หรือโครงสร้างกระดูก) แต่ระบบสืบพันธุ์จะยังคงพัฒนาเพื่อความพร้อมการในการสืบพันธุ์ ดังนั้น คุณภาพของอาหารก็จะลดลงได้อีก คือมีโปรตีนประมาณ 14% และพลังงานที่ให้ประโยชน์คือ 2,700-2,800 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหาร ขณะที่ไม่จำเป็นต้องให้แร่ธาตุเพิ่มเป็นพิเศษ แต่ควรเน้นวิตามินโดยเฉพาะวิตามิน E ไก่ในระยะนี้จะมีขนขึ้นเต็มไปหมดแล้ว ไก่เองจะมีพฤติกรรมในการดูแลขนของตัวเองมากยิ่งขึ้น โดยการไซร้ขนซึ่งต้องใช้ไขมันที่ต่อมไขมันบริเวณก้นมาเพื่อช่วยจัดความเป็นระเบียบของขน และทำให้ขนเป็นเงา หากต้องการให้ไก่เจริญพันธุ์เร็วขึ้นก็ควรให้ไก่มีความยาวของแสงประมาณ 15-16 ชั่วโมงต่อวัน แต่ควรให้ระวังไม่ให้มีความเข้มของแสงมากเกินไปเพราะจะทำให้ไก่เครียด และจิกขนกันเองได้ ในระยะนี้ควรนำไก่ที่ต้องการนำไปเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ หรือไก่ที่จะนำไปประกวดมาเลี้ยงแยกกัน เพราะไก่ที่จะนำไปประกวดจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ แต่หากต้องการให้แม่ไก่แจ้ไข่เพื่อผลิตลูกก็ไม่ควรให้แม่ไก่อ้วนจนเกินไป ซึ่งจะทำให้ไก่ไข่ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น และเมื่อไก่ใกล้จะให้ไข่ ควรเปลี่ยนสูตรอาหารให้เป็นสูตรที่มีโปรตีนสูง 16% พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้คือ 2,800 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหารเสริมด้วยเปลือกหอยบด และฟอสฟอรัสเพื่อช่วยในการสร้างไข่และเปลือกไข่
3. ไก่ใหญ่ ไก่ระยะนี้อยู่ระหว่าง 19-24 หรือมากกว่า 24 สัปดาห์ ซึ่งการเจริญเติบโตหยุดแล้ว (ขน กล้ามเนื้อ หรือโครงสร้างกระดูก) แต่ระบบสืบพันธุ์จะยังคงพัฒนาเพื่อความพร้อมการในการสืบพันธุ์ ดังนั้น คุณภาพของอาหารก็จะลดลงได้อีก คือมีโปรตีนประมาณ 14% และพลังงานที่ให้ประโยชน์คือ 2,700-2,800 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหาร ขณะที่ไม่จำเป็นต้องให้แร่ธาตุเพิ่มเป็นพิเศษ แต่ควรเน้นวิตามินโดยเฉพาะวิตามิน E ไก่ในระยะนี้จะมีขนขึ้นเต็มไปหมดแล้ว ไก่เองจะมีพฤติกรรมในการดูแลขนของตัวเองมากยิ่งขึ้น โดยการไซร้ขนซึ่งต้องใช้ไขมันที่ต่อมไขมันบริเวณก้นมาเพื่อช่วยจัดความเป็นระเบียบของขน และทำให้ขนเป็นเงา หากต้องการให้ไก่เจริญพันธุ์เร็วขึ้นก็ควรให้ไก่มีความยาวของแสงประมาณ 15-16 ชั่วโมงต่อวัน แต่ควรให้ระวังไม่ให้มีความเข้มของแสงมากเกินไปเพราะจะทำให้ไก่เครียด และจิกขนกันเองได้ ในระยะนี้ควรนำไก่ที่ต้องการนำไปเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ หรือไก่ที่จะนำไปประกวดมาเลี้ยงแยกกัน เพราะไก่ที่จะนำไปประกวดจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ แต่หากต้องการให้แม่ไก่แจ้ไข่เพื่อผลิตลูกก็ไม่ควรให้แม่ไก่อ้วนจนเกินไป ซึ่งจะทำให้ไก่ไข่ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น และเมื่อไก่ใกล้จะให้ไข่ ควรเปลี่ยนสูตรอาหารให้เป็นสูตรที่มีโปรตีนสูง 16% พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้คือ 2,800 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหารเสริมด้วยเปลือกหอยบด และฟอสฟอรัสเพื่อช่วยในการสร้างไข่และเปลือกไข่
ไก่แจ้เป็นไก่พื้นเมืองชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์สวยงาม โดยทั่วไปจะเลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลิน และความสุขใจของผู้เลี้ยง และผู้เลี้ยงมักจะปล่อยให้ไก่แจ้หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันมีผู้สนใจเลี้ยงไก่แจ้จำนวนมากขึ้น มีการรวมกลุ่ม มีการจัดงานประกวด ดังนั้น ผู้เลี้ยงไก่แจ้ จึงได้คิดค้นหาสูตรอาหารมาบำรุงไก่แจ้ เพื่อให้ได้ไก่แจ้ที่มีลักษณะที่ดี รูปพรรณไก่แจ้ที่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น